ลักษณะภูมิอากาศ
อำเภอบ้านธิพื้นที่ทั้งหมดแบ่งเป็น
2 ลักษณะคือพื้นที่ราบ และพื้นที่ภูเขา อำเภอบ้านธิอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูกาล
ซึ่งฤดูฝนและฤดูแล้งแบ่งแยกกันเด่นชัด ฤดูฝนจะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคมจนถึงตุลาคมรวมระยะเวลาประมาณ
4-5 เดือน ซึ่งตามสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาน่าจะมีฝนตกและมีความชื้นสูง
แต่อำเภอบ้านธิจะมีสภาพแห้งแล้งไม่มีน้ำเพียงพอ สาเหตุเพราะต้นน้ำมีต้นไม้ใหญ่น้อยมากทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง
และในฤดูฝนก็ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้เกิดผลกระทบต่อราษฎรที่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ อำเภอสันกำแพง จ.เชียงใหม่
ทิศใต้
ติดต่อกับ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จ.ลำพูน และอำเภอสารภี จ.เชียงใหม่
ประชากร การประกอบอาชีพ ข้อมูลการปกครอง
อำเภอบ้านธิแบ่งเขตการปกครองออกเป็น
2 ตำบล 36 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 5,514 หลังคาเรือน ประชากร
17,950 คน เป็นชาย 8,670 คน เป็นหญิง 9,280 คน การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีองค์การ
บริหารส่วนตำบล 1 แห่ง เทศบาลตำบล 1 แห่ง ประกอบด้วยเทศบาลตำบลบ้านธิและองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ
ประชากร การประกอบอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
โดยมีพืชหลักที่สำคัญ คือ ปลูกข้าว ปลูกใบยาสูบ ทำสวนลำไยและเลี้ยงวัวนม
เป็นต้น อาชีพรองลงมาคือรับจ้าง เนื่องเขตจากอำเภอบ้านธิ อยู่ใกล้กับสถานประกอบการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
ทำให้ ประชากรอำเภบ้านธิ วัยทำงานไปรับจ้างตามโรงงานเขตนิคมอุสาหกรรม
สภาพทางสังคม วัฒนธรรม
ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
และมีประชากรบางส่วนนับ ถือศาสนาคริสต์ มีวัดพุทธศาสนา 25 แห่ง
โบสถ์คริสต์ 2 แห่งประชากรประกอบไปด้วยชาวไทลื้อ ไทยอง และไทยวน
โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อ ไทยองอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาประมาณ
200 ปี มีผู้นำชุมชนที่นำผู้คนมาตั้งหมู่บ้านชื่อขุนธิ โดยรวบรวมราษฎรตั้งหมู่บ้านแหล่งแรกชื่อหมู่บ้านบ้านธิหลวง
และได้ขยายหมู่บ้านบริวารเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมี 2 ตำบล
36 หมู่บ้าน ตำบลบ้านธิเป็นตำบลที่มีประชากรมากที่สุดของอำเภอบ้านธิ
ลักษณะการตั้งถิ่นฐานจะรวมตัวกันเป็นกระจุก แต่ละหมู่บ้านจะไม่มีการสร้างบ้านเรือนกระจัดกระจาย
ความสัมพันธ์จะดำเนินไปในลักษณะเครือญาติ